ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ใบงานที่ 6 สแกนเนอร์และเครื่องอ่านบาร์โค้ด

สแกนเนอร์และเครื่องอ่านบาร์โค้ด สแกนเนอร์

1.สแกนเนอร์ (Scanner)
         แกนเนอร์ คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอลซึ่งคอมพิวเตอ์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆได้ดังนี้
            - ในงานเกี่ยวกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร
            - บันทึกข้อมูลลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์
            - แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ เวิร์ดโปรเซสเซอร์
            - เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่าง ๆ ลงไปในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่าง ๆ

             โดยพื้นฐานการทำงานของสแกนเนอร์, ชนิดของสแกนเนอร์ และความสามารถในการทำงานของสแกนเนอร์แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
  สแกนเนอร์แบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ
    สแกนเนอร์มือถือ (Hand-Held Scanner) มีขนาดเล็ก ราคาไม่แพงนัก เก็บภาพขนาดเล็กๆ ซึ่งไม่ต้องการความละเอียดมากนักได้ เช่น โลโก้ ลายเซ็น เป็นต้น
    สแกนเนอร์ดึงกระดาษ (Sheet-Fed Scanner) เป็นสแกนเนอร์ที่ใหญ่กว่าสแกนเนอร์มือถือ ใช้หลักการดึงกระดาษขึ้นมาสแกนทีละแผ่น แต่มีข้อจำกัดคือถ้าต้องการสแกนภาพจากหนังสือที่เป็นรูปเล่ม ต้องฉีกกระดาษออกมาทีละแผ่น ทำให้ไม่สะดวกในการสแกน คุณภาพที่ได้จากสแกนเนอร์ประเภทนี้อยู่ในระดับปานกลาง
     สแกนเนอร์แท่นเรียบ (Flatbed Scanner) เป็นสแกนเนอร์ที่มีกระจกใสไว้สำหรับวางภาพที่จะสแกน เหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร คุณภาพของงานสแกนประเภทนี้จะดีกว่าสแกนเนอร์แบบมือถือ หรือสแกนเนอร์แบบดึงกระดาษ แต่ราคาสูงกว่าเช่นกัน
ปัจจุบันสแกนเนอร์รุ่นใหม่ๆ มีขีดความสามารถในการใช้งานมากขึ้นทั้งในเรื่องของความเร็ว และความละเอียดของภาพที่ได้จากการสแกน นอกจากนี้ยังสามารถสแกนจากวัตถุอื่นๆ ที่ไม่ใช่กระดาษเพียงอย่างเดียว เช่น วัตถุ 3 มิติ ที่มีขนาดและน้ำหนักที่ไม่มากจนเกินไป หรือแม้กระทั่งฟิล์มและสไลด์ของภาพต้นฉบับเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้เลยโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปอัดขยายเป็นภาพถ่ายปกติเหมือนในอดีต

ประเภทของเครื่องสแกน (scanner)
Desktop scanner มีลักษณะเป็นแท่นในแนวราบ แบ่งเป็น 2 แบบ
แบบใส่กระดาษ แล้วเลื่อนกระดาษเอง เรียกว่า sheetfed scanner
แบบวางกระดาษ แล้วให้หัวสแกนเลื่อนอ่าน ข้อมูลจากกระดาษ เรียกว่า flatbed Scanner

Handy scanner มีขนาดเล็ก สามารถจับถือได้

งานของเครื่องสแกน (scanner)
สแกนเนอร์ มีหลักการทำงาน คือ เครื่องอ่านภาพ จะทำการอ่านภาพโดยอาศัยการสะท้อน หรือการส่องผ่านของแสง กับภาพต้นฉบับที่ทึบแสง หรือโปร่งแสง ให้ตกกระทบกับ แถบของอุปกรณ์ไวแสง (photosensitive) ซึ่งมีชื่อในทางเทคนิคว่า Charge-Couple Device (CCD) ตัว CCD จะรับแสงดังกล่าวลงไปเก็บไว้ใน เส้นเล็กของเซล และจะแปลงคลื่นแสง ของแต่ละเซลเล็กๆ ให้กลายเป็นคลื่นความต่างศักย์ ซึ่งจะแตกต่างไปตามอัตราส่วน ของระดับความเข้มของแสงแต่ละจุด
ตัวแปลงสัญญาณอะนาล็อก เป็นดิจิทัล หรือ ADC : Analog to Digital Convertor จะแปลงคลื่นความต่างศักย์ ให้เป็นข้อมูล ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ ในเวลาเดียวกัน โปรแกรมในการอ่าน จะควบคุมการทำงาน ของเครื่องอ่านภาพ ให้รับข้อมูลเข้า และจัดรูปแบบเป็นแฟ้มข้อมูลของภาพ ในระบบคอมพิวเตอร์ต่อไป

ภาพจากการสแกน
ภาพในคอมพิวเตอร์ จะอยู่ในรูปแบบดิจิทัล คอมพิวเตอร์แทนส่วนเล็ก ๆ ของภาพที่เรียกว่า พิกเซล (pixels) ขนาดของไฟล์รูปภาพ จะประกอบด้วย จำนวนพิกเซลเป็นร้อยเป็นพัน คอมพิวเตอร์จะบันทึก ค่าความเข้ม และค่าสีของพิกเซลแต่ละพิกเซล ด้วยจำนวน 1 บิต หรือหลายๆ บิต จำนวนของพิกเซล จะเป็นตัวแสดงถึงความละเอียด และถ้ามีจำนวนบิตต่อพิกเซลมาก สีที่ได้ก็จะมากตามไปด้วย
รูปแบบการเก็บข้อมูล มีหลายระบบ เช่น 1 บิต 8 บิต และ 24 บิต โดยถ้าเป็นข้อมูลแบบ 1 บิต จะใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่อพิกเซล 2 สถานะ คือ 1 และ 0 ซึ่งจะแสดงสีได้เฉพาะขาวกับดำ แต่ถ้าเป็น 8 บิต จะใช้ความแตกต่างของสีถึง 256 ระดับ การรวมแม่สีมีเทคนิคที่เรียกว่า dithering ซึ่งจะแสดงสีได้ไม่เหมือนกับ ความจริงที่เรามองเห็นได้ สำหรับระบบ 24 บิต จะให้ภาพที่มีสีใกล้เคียงจริงมากที่สุด เรียกว่า photo-realistic โดยจะแบ่ง 24 บิต เป็น 3 ส่วน คือ แดง, เขียว, น้ำเงิน ส่วนละ 8 บิต เมื่อรวมทั้ง 3 ส่วนเข้ากันแล้ว จะสามารถแสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี
ส่วนประกอบของสแกนเนอร์
     1. แผ่นปิด (Document Cover)เป็นส่วนที่มีความสำคัญ เพราะใช้สำหรับป้องกันแสงจากภายนอกที่อาจจะเข้าไปรบกวนในขณะที่สแกนเนอร์ทำงาน ดังนั้นเมื่อสแกนภาพทุกครั้งจะต้องปิดแผ่นปิดเสมอ แต่บางครั้งอาจจะถอดฝาดังกล่าวออกได้หากเอกสารที่นำมาสแกนมีความหนาและสามารถที่ปิดกระจกวางได้สนิท
     2. แผ่นกระจกวางรูป (Document Table) เป็นบริเวณที่นำภาพมาวางขณะสแกนภาพ
     3. คาร์เรียจ (Carriage) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดสำหรับการสแกนภาพ ประกอบด้วยอุปกรณ์หลักๆอยู่ 2 ประเภท คือ ตัวตรวจจับแสง (Optical Sencor) และหลอดฟลูออเรสเซนต์
     4. แผงหน้าปัทม์ควบคุม ใช้สำหรับกำหนดและควบคุมการทำงานสแกนเนอร์ ในเรื่องของความละเอียด ความสว่าง (Brightness) สัดส่วนขนาดของภาพ และการเลือกพิมพ์จากภาพสแกน
     5. ดิพสวิตซ์ ใช้สำหรับบอกลักษณะการติดต่อระหว่างสแกนเนอร์กับคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์ที่ใช้ในการสแกนภาพ
     1.  สแกนเนอร์
     2 . สาย SCSI หรือ USB (Universal Serial BUS )สำหรับต่อสายจากการสแกนเนอร์กับไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
     3 . ซอฟต์แวร์สำหรับการสแกนภาพ ซึ่งทำหน้าที่สำหรับควบคุมการทำงานของสแกนเนอร์ให้สแกนภาพได้ตามที่กำหนด
     4.  ซอฟต์แวร์สำหรับการแก้ไขภาพที่สแกนมาแล้วเช่นPhotoshopImagescanIIหรือกรณีที่ต้องการสแกนเอกสารเก็บไว้เป็นไฟล์ที่นำกลับมาแก้ไขได้ อาจจะมีซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนการทำงานด้าน OCR
     5 . จอภาพที่เหมาะสมสำหรับการแสดงภาพที่สแกนมาจากสแกนเนอร์
     6 . เครื่องมือสำหรับแสดงพิมพ์ภาพที่สแกนออกมา เช่น เครื่องพิมพ์หรือ สไลด์โปรเจคเตอร์ 


RGB
การอ่านภาพสี CCD ของเครื่องอ่านภาพ จะมีการประมวลผล โดยอาศัยโครงสร้างของแม่สี 3 สี คือ แดง, เขียว และน้ำเงิน ในทางเทคนิคจะเรียกว่า RGB ในโครงสร้างสีแบบ RGB นี้แต่ละสีที่เกิดขึ้นจะประกอบด้วยแม่สีทั้ง 3 สีรวมอยู่ด้วยกันในค่าที่ต่างกันไป สีดำเกิดขึ้นจาก การไม่มีแสงสีขาว ในทำนองเดียวกัน สีขาวก็เกิดจากแสงแม่สีทั้ง 3 อยู่ในระดับสูงสุดเท่าๆ กัน (100 เปอร์เซ็นต์ของ RGB) และระดับแสงเท่าๆ กันของทั้ง 3 แม่สีจะเกิดแสงสีเทา (gray scale)

การทำงานของสแกนเนอร์
     1. เทคนิคการสแกนภาพ
         - สแกนเนอร์สีแบบสแกนผ่านครั้งเดียว ( One-Pass Scanners)
         - สแกนเนอร์สีแบบสแกนผ่านสามครั้ง ( Three-Pass Color Scanners)

ผังการทำงานของสแกนเนอร์ขาวดำ

     2. เทคโนโลยีการสแกนภาพ
         - แบบ PMT (Photomultiplier Tube)
         - แบบ CCD (Charge-Coupled Deiver)
         - แบบ CIS (Contact Image Sensor)
     3. โปรแกรมควบคุม
     4. การบันทึกข้อมูล
         - รูปแบบของข้อมูลภาพ (Image Data Type)
         - ภาพขาวดำ (Black & White)
         - ภาพสีเทา (Grayscale)
         - ภาพ 16 และ 256 สีที่ได้กำหนดไว้แล้วในตารางสี ( Indexed 16 and 256-Color)
         - ภาพ RGBสีจริง (RGB True Color)
         - ภาพ 8 สี (RGB 8-Color)
         - ตัวหนังสือ
         - รูปแบบของไฟล์รูปภาพมาตรฐาน

ตาราง ตัวอย่างมาตรฐานไฟล์รูปภาพ
รูปแบบ
คำอธิบาย
TIFF
(Tagged Image File Format) พัฒนาขึ้นโดย บริษัท Aldus และ Microsolf ในปี 1986เพื่อใช้ร่วมกับสแกนเนอร์แบบตั้งโต๊ะและงานพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ (DTP-Desktop Publisher) รูปแบบของ TIFFที่ยังไม่บีบอัดคือ TIFF แบบธรรมดาจะไม่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และโปรแกรม แต่ถ้าเป็น TIFF แบบบีบอัดข้อมูลแล้วจะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และโปรแกรม iPhoto Deluxe สามารถอ่านไฟล์ TIFF แบบบีบอัดส่วนมากได้ และยังสามารถเก็บบันทึกภาพด้วย TIFF แบบบีบอัดได้ โปรแกรมอื่น ๆที่สนับสนุนไฟล์ TIFF ได้แก่ ColorStudio, CoreIDRAW, PageMaker, PC Paintbrush IV Plus, PhotoShop, Piccture Publisher Plus, PowerPoint, PrePrint และ Ventura Publisher เป็นต้น
TGA
(Targa) พัฒนาขึ้นโดยบริษัท TrueVision สำหรับใช้กับอุปกรณ์บอร์ดวีดิโอสีแบบเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบอร์ด TARGA นับเป็นรูปแบบของไฟล์ภาพที่ใช้กันเฉพาะในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
BMP
(Windows Bitmap) ผลิตโดยบริษัท Microsoft เป็นรูปแบบที่ยอมให้วินโดวส์และแอปพลิเคชั่นของวินโดวส์แสดงภาพได้บนอุปกรณ์ต่างๆ รูปแบบนี้สามารถเก็บบันทึกไว้เป็นสี เพื่อนำมาใช้งานในภายหลังได้ เช่นโปรแกรมที่ใช้กับ Windows Paintbrush หรือโปรแกรม Windows เองโดยตรง


     5. การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
         - ขนาดของไฟล์ภาพและความคมชัด
         - ตั้งค่า Resolution ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
         - ขนาดของไฟล์ที่สแกนได้
         - เฉดสีหลากหลาย

การทำงานของโปรแกรมรู้จำตัวอักษร หรือ OCR ย่อมาจาก Optical Character Recognition

เมื่อสแกนเนอร์อ่านข้อมูลจากภาพของเอกสาร มันจะเปลี่ยนข้อมูลนี้ให้อยู่ในรูปแบบ บิตแมป ซึ่งเป็นเมตริกซ์ของพิกเซล มีค่า 2 ค่า คือ ปิด (ขาว) และ เปิด(ดำ) ซึ่งจะทำให้ภาพที่ได้มีความคมชัดลดลงไปซึ่งผลกระทบในจุดนี้ทำให้เกิดปัญหากับซอฟต์แวร์OCR พอสมควร

โปรแกรม OCR จะอ่านบิตแมปที่สร้างโดยสแกนเนอร์ และเฉลี่ยพื้นที่ที่ปิดและเปิดของหน้ากระดาษ ซึ่งมีผลต่อพื้นที่สีขาวในหน้ากระดาษด้วย การทำเช่นทำให้ซอฟต์แวร์สามารถแยกองค์ประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นย่อหน้า คอลัมน์ หัวข้อ และกราฟิกอื่นๆ ช่องว่างสีขาวระหว่างบรรทัดในบล็อกจะใช้เป็น baseline ของแต่ละบรรทัดในบล็อก ซึ่งจำเป็นมากในการรู้จำตัวอักษรต่างๆ

ในการเปลี่ยนรูปภาพเป็นข้อความในรอบแรก ซอฟต์แวร์จะพยายามเปรียบเทียบแต่ละพิกเซลกับเท็มเพลตของอักษรที่ซอฟ์แวร์เก็บไว้ในหน่วยความจำ เท็มเพลตนี้ จะมีรูปแบบของอักขระครบทุกแบบ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ต่างๆ แต่วิธีนี้จะใช้ได้กับภาพตัวอักษรที่ใกล้เคียงกับตัวอย่างมาก ถ้าภาพที่ได้จากการสแกนมีคุณภาพไม่เพียงพอจะทำให้การตีความอักษรผิดพลาดได้

ตัวอักษรอื่นที่ไม่สามารถตีความได้ว่าเป็นตัวอักษรใด จำเป็นต้องผ่านกระบวนการที่ใช้เวลาในการประมวลผลมากกว่า เรียกว่า Feature Extraction ซอฟต์แวร์จะคำนวณความสูงของอักขระตัวเล็กและวิเคราะห์องค์ประกอบของตัวนั้น เช่น เส้นตรง เส้นโค้ง และพื้นที่ปิด ซึ่งซอฟต์แวร์จะมีข้อมูลเหล่านี้อยู่ในตัวมันเองอยู่แล้วว่าตัอักขระตัวใดมีลักษณะเป็นอย่างไร แล้วจึงตีความว่าตัวขระนั้นน่าจะเป็นตัวอะไร และจะเก็บไว้ใช้ต่อไป เมื่อมีการพบรูปอักขระเดิมการวิเคราะห์จะทำได้เร็วขึ้น

เนื่องจากทั้งสองกระบวนการนี้ไม่สามารถตีความได้ทุกตัวอักษร ซอฟต์แวร์บางตัวจะจัดการกับตัวอักขระที่ตีความไม่ได้ให้เป็น ตัวอักขระแบบพิเศษ เช่น #, @, ~ เป็นต้น คุณจำเป็นต้องหาอักขระที่ถูกต้องด้วยตัวคุณเอง ซอฟต์แวร์บางตัวก็จะขึ้นรูปตัวอักขระแล้วถามว่าตัวนี้ไม่รู้จักจะให้ตีความเป็นอักขระใด

โปรแกรม OCR บางตัวจะเรียกใช้ฟังก์ชันตรวจคำผิดเพื่อหาข้อผิดพลาดอย่างชัดแจ้งและแก้ไขให้โดยอัตโนมัติ และซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จะมีความสามารถเปลี่ยนเอกสารที่ได้นี้ให้สามารถใช้งานได้โดย โปรแกรม Word processor ที่นิยมใช้งานทั่วไปให้โดยอัตโนมัติ
โปรแกรมที่ใช้กับสแกนเนอร์
      1. โปรแกรมไดร์เวอร์สำหรับสแกนเนอร์
     เป็นโปรแกรมที่จำเป็นที่สุดในการใช้งานสแกนเนอร์ โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมาพร้อม กับอุปกรณ์ โดยอาจจะบรรจุอยู่ในแผ่นดิสก์ติดตั้งแยกต่างหาก หรืออาจรวมมากับโปรแกรม OCR หรือโปรแกรมแต่งภาพก็ได้ ไฟล์ที่ใช้งานมักจะลงท้ายด้วย .sys หรือ .drv เสมอ
      2. โปรแกรม OCR
     OCR ย่อมาจาก Optical Character Recognition เป็นโปรแกรมที่สามารถจดจำตัว อักษรและสามารถแปลงไฟล์กราฟิกหรือไฟล์รูปภาพ(Graphic File)ให้เป็นไฟล์ตัวอักษร (text File)ได้ ช่วยให้ไม่ต้องพิมพ์ข้อความต่างๆที่มีอยู่ซ้ำด้วยแป้นพิมพ์ เพียงแต่สแกนด้วยสแกนเนอร์ แล้วใช้คำสั่งที่มีอยุ่ในโปรแกรมแปลงภาพที่ต้องการเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของไฟล์ตัวอักษร ก็สามารถเรียกไฟล์ดังกล่าวออกมาดู แก้ไข ดัดแปลง โดยใช้โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ใดๆก็ได้ ช่วยลดงานพิมพ์ลงเป็นจำนวนมาก ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายลงได้ โปรแกรมเหล่านี้มักจะมีคำว่า OCR เป็นส่วนประกอบของชื่อโปรแกรมอยู่ด้วย เช่น โปรแกรม ReadiRis OCR โปรแกรม ThaiOCR และ โปรแกรม Recognita GO_CR เป็นต้น โปรแกรม OCR นอกจากจะใช้คู่กับสแกนเนอร์แล้ว ยังพบอยู่กับโปรแกรมที่ใช้คู่กับ Fax/Modemอีกด้วย ทั้งนี้เพราะสามารถใช้เครื่องส่งโทรสารหรือเครื่องส่งแฟ็กซ์ แทนสแกนเนอร์ได้ หรือจะเรียกเครื่องโทรสารเป็นสแกนเนอร์ชนิดได้ โปรแกรมแฟ็กซ์/โมเด็มที่กล่าวถึงได้แก่ โปรแกรม QuickLink Gold โปรแกรม WinFax Pro โปรแกรม SuperFax โปรแกรม UltraFax เป็นต้น
     3. โปรแกรมแต่งภาพและจัดอัลบัมภาพ
     เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพที่ได้จากการสแกน และภาพจากไฟล์กราฟิกที่มี นามสกุลต่าง ๆ เช่น TIF, BMP, PCX, TGA, GIF, SPG, CGM, EPS, PCD, WMF ฯลฯ ชื่อโปรแกรมมักมีคำว่า Photo หรือ Image ร่วมอยู่ด้วย เช่น โปรแกรม iPhoto Deluxe โปรแกรม ImagePro โปรแกรม ImagePals! Go! เป็นต้น แต่ก็อาจจะไม่มีคำดังกล่าวก็ได้ เช่น โปรแกรม Finishing TOUCH เป็นต้น โปรแกรมกราฟิกและโปรแกรมสำหรับทำ Presentation ก็มักจะมีคำสั่ง Scan สำหรับใช้กับสแกนเนอร์ด้วยเช่นกัน เช่น โปรแกรม CorelDraw! เป็นต้น


ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน แบ่งเป็นประเภทดังนี้

     1. ภาพ Single Bit
         ภาพ Single Bit เป็นภาพที่มีความหยาบมากที่สุดใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูล น้อยที่สุดและ นำมาใช้ประโยชน์อะไรไ่ม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ ใช้ทรัพยากรของเครื่องน้อยที่สุดใช้พื้นที่ ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสแกนภาพน้อยที่สุด Single-bit แบ่งออกได้สองประเภทคือ
         - Line Art ได้แก่ภาพที่มีส่วนประกอบเป็นภาพขาวดำ ตัวอย่างของภาพพวกนี้ ได้แก่ ภาพที่ได้จากการสเก็ต
         - Halftone ภาพพวกนี้จะให้สีที่เป็นโทนสีเทามากกว่า แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single-bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบๆ
     2. ภาพ Gray Scale
         ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ โดยจะประกอบด้วยเฉดสีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา ความชัดลึกมากขึ้นกว่าเดิมภาพพวกนี้แต่ละพิกเซลหรือแต่ละจุดของภาพอาจประกอบด้วยจำนวนบิตมากกว่า ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น
     3. ภาพสี
         หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วยจำนวนบิตมหาศาล และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมาก ควาามสามารถในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่าใช้สแกนเนอร์ขนาดความละเอียดเท่าไร
     4. ตัวหนังสือ
         ตัวหนังสือในที่นี้ ได้แก่ เอกสารต่างๆ เช่น ต้องการเก็บเอกสารโดยไม่ต้อง พิมพ์ลงในแฟ้มเอกสารของเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ก็สามารถใช้สแกนเนอร์สแกนเอกสาร ดังกล่าว และเก็บไว้เป็นแฟ้มเอกสารได้ นอก จากนี้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถใช้ โปรแกรมที่สนับสนุน OCR (Optical Characters Reconize) มาแปลงแฟ้มภาพเป็น เอกสารดังกล่าวออกมาเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถแก้ไขได้


สแกนเนอร์ดึงกระดาษ (Sheet-Fed Scanner)


สแกนเนอร์แท่นเรียบ (Flatbed Scanner)


สแกนเนอร์มือถือ
(Hand-Held Scanner)


2.Barcode Scanner - เครื่องอ่านบาร์โค้ด

หน้าที่ของเครื่องอ่านบาร์โค้ด

1. หา Elements ที่ถูกต้องของ Bar และ Space
2. กำหนดส่วนกว้างของแต่ละ Bar และ Space
3. จัดกลุ่มของบาร์โค้ดที่อ่านเข้ามา
4. นำ Element Widths เปรียบเทียบกับรูปแบบตารางบาร์โค้ด
5. ตรวจสอบ Start/Stop Characters เวลาที่มีการอ่านกลับทิศทาง
6. ยืนยัน Quiet Zone ทั้งสองข้างของบาร์โค้ด
7. ยืนยันความถูกต้องของ Check Characters

หลักการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค๊ด
1. เครื่องอ่าน (Reader) ฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค๊ด
2. รับแสงที่สะท้อนกลับมาจากตัวบาร์โค๊ด
3. เปลี่ยนปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า
4. เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นข้อมูลที่นำไปใช้งานได้


1. เครื่องอ่าน (Reader)
ฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ด หรือ แหล่งกำเนิดแสง (Light Source) ภายในเครื่องอ่านบาร์โค้ดจะฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ด และกวาดแสงอ่านผ่านแท่งบาร์



2. รับแสงที่สะท้อนกลับมาจากตัวบาร์โค๊ด
ฉายการอ่านบาร์โค้ดจะใช้หลักการสะท้อนแสงกลับมาที่ตัวรับแสง



3. เปลี่ยนปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า 
ภายในเครื่องอ่านบาร์โค้ดจะมีอุปกรณ์เปลี่ยนปริมาณแสง ที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า



4. เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นข้อมูลที่นำไปใช้งานได้
สัญญาณไฟฟ้าจะไปเปรียบเทียบกับตารางบาร์โค้ดที่ ตัวถอดรหัส (Decoder) และเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้



สรุปหลักการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค้ด
เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ด แล้วรับแสงที่สะท้อนกลับจากแท่งบาร์โค้ด ซึ่ง Space จะสะท้อนแสงได้ดีกว่าแท่งBar จากนั้นปริมาณแสงสะท้อนจะถูกเปลี่ยนไปเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า แล้วถูกส่งต่อไปยังตัวถอดรหัส (Decoder) และแปลงให้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้

ข้อเสียของเครื่องอ่านบาร์โค้ด
1.      เครื่องอ่านบาร์โค้ดมีข้อจำกัดในการทำงาน เมื่อนำเครื่องอ่านบาร์โค้ดไปใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้น คลื่นแสงที่ใช้ในการอ่านจะถูกหักเหได้ง่าย เมื่อแถบบาร์โค้ดมีการเปียกชื้นก็จะทำให้การอ่านข้อมูลในแถบบาร์โค้ดเกิดการผิดพลาดได้
2.      ขณะที่เครื่องกำลังอ่านแถบบาร์โค้ดนั้น จะต้องให้เห็นแถบบาร์โค้ด หากแถบบาร์โค้ดถูกปิดบังเครื่องก็ไม่สามารถที่จะอ่านข้อมูลได้
   3.      เครื่องอ่านบาร์โค้ดไม่สามารถที่จะอ่านแถบบาร์โค้ดที่เคลื่อนไหว ด้วยความรวดเร็วได้ ดังนั้นหากแถบบาร์โค้ดติดอยู่บนวัตถุที่เคลื่อนไหวด้วยความรวดเร็ว จะส่งผลทำให้ความแม่นยำในการอ่านข้อมูลต่ำลง
 ประเภทของเครื่องอ่านบาร์โค้ด
      เครื่องอ่านบาร์โค้ด จำแนกออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส และ เครื่องอ่านบาร์โค้ด ไม่สัมผัส และยังสามารถแยกประเภทตามลักษณะการเคลื่อนย้ายได้ โดยแบ่งกลุ่มเป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable) และ  เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบยึดติดกับที่(Fixed Positioning Scanners)
เครื่องอ่านบาร์โค้ดยังสามารถแบ่งได้ตามชนิดของหัวอ่าน คือ CCD, Laser, Omnidirectional และ Imager โดยจะมีข้อแตกต่างในการใช้งาน ดังต่อไปนี้

1. CCD Scanner จะเป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีลักษณะเป็นตัวปืน มีข้อดีในการใช้งานกลางแจ้งบริเวณที่มีแสงสว่างมากๆ แต่ข้อเสียก็คือการยิงบาร์โค้ดด้วยเครื่องอ่านชนิดนี้จำเป็นต้องใช้กับบาร์โค้ดที่มีลักษณะพื้นผิวแบนเรียบเท่านั้น จำเป็นต้องยิงในระยะที่ไม่ห่างจากตัวบาร์โค้ดมากเกิน 1 นิ้ว และไม่สามารถอ่านบาร์โค้ดที่กว้างกว่าผิวหน้านำเข้าของตัวเครื่องได้

2. Laser Scanner เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีทั้งแบบพกพาติดตัวและการติดตั้งอยู่กับที่ มีข้อดีที่สามารถอ่านข้อมูลบาร์โค้ดในระยะที่ห่างจากตัวบาร์โค้ดได้พอสมควร การยิงจะใช้แสงเลเซอร์ยิงผ่านกระจกและไปตกกระทบที่ตัวบาร์โค้ดเพื่ออ่านข้อมูลจากแสงสะท้อนที่ย้อนกลับมาที่ตัวรับแสง ในการยิงจะเป็นการฉายแสงเลเซอร์ออกมาเป็นเส้นตรงเส้นเดียว มีขนาดเล็ก และความถี่เดียว แสงเลเซอร์จึงไม่กระจายออกไปนอกพื้นที่ที่ต้องการอ่านข้อมูลทำให้สามารถอ่านรหัสที่มีขนาดเล็กได้ดี นอกจากนี้ในหลายๆรุ่นยังสามารถตั้งให้ทำงานโดยอัตโนมัติได้เมื่อมีแถบบาร์โค้ดเคลื่อนผ่านหน้าหัวอ่าน โดยจะประยุกต์ใช้ร่วมกับขาตั้งเครื่องอ่านบาร์โค้ด

3. Omnidirectional Scanner เป็นเครื่องอ่านแบบเลเซอร์ ลักษณะการทำงานเหมือนกัน แต่มีการฉายแสงเลเซอร์ออกมาลายเส้นหลายทิศทาง มีลักษณะตัดกันไปมาเหมือนใยแมงมุม ซึ่งจะเหมาะกับการอ่านบาร์โค้ดบนสินค้าซึ่งไม่ได้มีการติดตำแหน่งของบาร์โค้ดในจุดเดียวกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน แต่จะมีราคาที่สูงกว่าเครื่อง Laser Scanner จึงมักนิยมใช้ในซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่

4. Imager Scanner เป็นเครื่องอ่านที่ใช้หลักการในการจับภาพของตัวบาร์โค้ด เช่นเดียวกันกับกล้องถ่ายรูป และใช้เทคนิคการประมวลผลภาพที่ทันสมัยในการถอดรหัสบาร์โค้ด สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดเล็กมากๆได้ และสามารถทำงานได้ในระยะห่างจากบาร์โค้ดมากยิ่งขึ้น แต่จะประมวลผลข้อมูลที่ช้ากว่าเครื่องอ่านแบบเลเซอร์อยู่เล็กน้อย

เครื่องอ่านบาร์โค้ดยังสามารถแบ่งได้ตามลักษณะของการเคลื่อนย้าย คือในบางรุ่นสามารถเคลื่อนย้ายเครื่องอ่านบาร์โค้ดได้แบบไร้สาย (wireless scanner) โดยมีการทำงานเหมือนโทรศัพท์ไร้สายภายในบ้าน, ในบางรุ่นเป็นเครื่องอ่านแบบมีสายที่ต้องประจำอยู่กับคอมพิวเตอร์แต่มีน้ำหนักเบาและสามารถขยับเคลื่อนย้ายเพื่อใช้งานได้ตามความต้องการเป็นเครื่องอ่านที่มีลักษณะเป็นรูปปืนที่มีปุ่มยิง และในบางรุ่นเป็นเครื่องอ่านชนิดตั้งโต๊ะติดอยู่กับที่ ในการทำงานไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้แต่จะทำการยิงโดยอัตโนมัติเมื่อมีบาร์โค้ดผ่านหัวอ่าน

ประสิทธิภาพการอ่านบาร์โค้ด (READ RATE PERFORMANCE)
สิ่งสำคัญที่จะทำให้สามารถอ่านบาร์โค้ดได้ดีคือ อัตราการอ่าน (Read Rate) อัตราการอ่านคือจำนวนบาร์โค้ดที่อ่านได้หากด้วยจำนวนบาร์โค้ดที่มี โดยทั่วไปจะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์โดยใกล้เคียง 100% คือดีที่สุด หรืออาจจะพูดได้ว่าอัตราการอ่านคือการวัดความเชื่อถือได้ของเครื่องอ่านบาร์โค้ดว่าจะสามารถอ่านบาร์โค้ดได้ดีเพียงใด เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่ายไม่ใช่การอ่านบาร์โค้ดจากแสงเลเซอร์เพียงแค่เส้นเดียวเท่านั้นแต่จะอ่านบาร์โค้ดจากภาพทั้งหมดและจะใช้กระบวนการในการชดเชยส่วนของบาร์โค้ดที่เสียหายหรือสูญหายซึ่งเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่ายสามารถเพิ่มความชัดเจนของบาร์โค้ดจากแสงไฟภายในเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ไม่สามารถอ่านเห็นได้รวมถึงบาร์โค้ดที่ใช้หมึก UV ซึ่งในกรณีแบบนี้ เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่ายจะมีอัตราการอ่านที่ดีกว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์
Cognex002
การอ่านโค้ดในทิศทางที่หลากหลาย (OMNIDIRECTIONAL CODE READING)
อ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่ายสามารถอ่านบาร์โค้ดได้ในหลากหลายทิศทางในการอ่านครั้งเดียว ซึ่งเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ต้องทำการอ่านหลายรอบ และไม่เพียงแต่จะอ่านบาร์โค้ดปกติได้แต่ยังสามารถอ่านบาร์โค้ดได้ในหลายทิศทางอีกด้วย
Cognex003
การอ่านโค้ด 2 มิติ (2D CODE READING)
ในหลายอุตสาหกรรมมีการใช้งานโค้ด 2 มิติ เช่น Data Matrix และ QR Code ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลได้มากขึ้นในกรณีที่ทำเป็นโค้ด 2 มิติเพื่อช่วยในการติดตามกระบวนการผลิตสินค้าและการขนส่ง โค้ด 2 มิติส่วนใหญ่จะมีการใช้งานร่วมกับโค้ด 1 มิติในกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตามเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ไม่สามารถอ่าน Data Matrix และ QR Code ได้ ซึ่งเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่ายยังสามารถอ่านโค้ด 2 มิติที่อยู่ในส่วนที่อ่านได้ยาก ปกติแล้วโค้ด 2 มิติจะถูกสร้างโดยแสงเลเซอร์ หรือการตอกเข็ม (Dot Peening) โดยตรงไปที่พื้นผิวเรียบ แต่กับพื้นผิวที่ไม่สมบูรณ์หรือพื้นที่โค้ง เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่ายก็สามารถอ่านโค้ดได้เช่นเดียวกัน
Cognex004
การอ่านโค้ดหลายๆ โค้ดพร้อมกันและอัตราของผลลัพธ์ที่ได้ (MULTIPLE CODE READING AND OUTPUT CAPABILITY)
ด้วยเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่ายหลายๆ รูปแบบที่มีในปัจจุบันจะมีความสามารถไม่เท่ากัน ระบบที่ดีที่สุดจะสามารถอ่านบาร์โค้ดหลายโค้ดพร้อมกันและหลายรูปแบบได้ โดยสามารถให้ผู้ใช้ล๊อกลำดับในการอ่านโค้ดได้เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้ในกระบวนการผลิต ในหลายๆ การใช้งานลำดับในการอ่านข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ การที่สามารถอ่านโค้ดได้หลายๆ โค้ดพร้อมกันในภาพหนึ่งภาพนั้นสามารถทำได้ในการตั้งค่าแบบง่ายๆ ใน Software DataMan ของ Cognex
Cognex005
รูปแสดง ตัวอย่างโปรแกรมการตั้งค่าการอ่านหลายๆ โค้ดของเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่าย Cognex DataMan
การจัดเก็บภาพบาร์โค้ด (IMAGE ARCHIVING)
ในกรณีที่เป็นการอ่านบาร์โค้ดด้วยเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่าย จะไม่มีการตอบสนองใดๆ เลยถ้าไม่สามารถอ่านบาร์โค้ดได้ ดังนั้นข้อดีสำหรับ เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่ายคือการที่มีภาพบาร์โค้ดเกิดขึ้นไม่ว่าจะอ่านโค้ดนั้นๆ ได้สำเร็จหรือไม่ และสามารถจะนำกลับไปปรับปรุงแก้ไขหรือค้นหาสาเหตุได้ว่าเพราะเหตุใดการอ่านโค้ดจึงไม่สามารถทำได้ เช่น ภาพบาร์โค้ดสามารถแสดงให้เห็นได้ว่ามองไม่เห็นบาร์โค้ดหรือมีบางส่วนของบาร์โค้ดหายไป ในอุตสาหกรรมรถยนต์ อวกาศ และเวชภัณฑ์โดยทั่วไปจะใช้ภาพในการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการผลิต
Cognex006
รูปแสดง หน้าต่างโปรแกรมสำหรับตั้งค่าการเก็บภาพของบาร์โค้ดด้วยโปรแกรม Cognex DataMan
ปรับตั้งและใช้งานง่าย (EASE OF SETUP AND DEPLOYMENT)
เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่ายมีวิธีการติดตั้งในแต่ละขั้นตอนที่เข้าใจง่ายและสามารถแสดงผลของการปรับตั้งค่าให้เห็นด้วย อีกทั้งการเห็นภาพในการปรับตั้งค่าทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจถึงตำแหน่งในการถ่ายภาพและใช้งานง่ายขึ้นด้วย
Cognex007
รูปแสดง ตัวอย่างโปรแกรมการตั้งค่าตำแหน่งการอ่านโค้ดของเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่าย Cognex DataMan
แสดงให้เห็นระดับคุณภาพของบาร์โค้ด (BARCODE QUALITY FEEDBACK)
ในกระบวนการผลิตคุณภาพของบาร์โค้ดที่พิมพ์ออกมาเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพื่อที่จะทำให้ตัวอ่านสามารถอ่านบาร์โค้ดได้นั่นเอง เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่ายสามารถแสดงให้ความเห็นถึงคุณภาพของการพิมพ์โค้ดเพื่อนำกลับไปปรับปรุงคุณภาพของการพิมพ์ให้ดีขึ้นได้
การแสดงผลและการเชื่อมต่อ (VISUALIZATION AND COMMUNICATION)
เมื่อมีการใช้งานเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่าย ผู้ใช้สามารถตรวจดูสถิติของอัตราการอ่านและดูภาพบาร์โค้ด ที่อ่านมาได้เพื่อทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจถึงขั้นตอนในการทำงานและเพื่อให้สามารถรู้ว่ามีความผิดปกติในขั้นตอนใด ในกรณีที่เครื่องอ่าน อ่านโค้ดไม่ได้ การส่งภาพกลับมาให้ผู้ใช้เห็นนั้น ช่วยให้เห็นว่าเครื่องกำลังดำเนินการใดอยู่ ผู้ใช้สามารถปรับตั้งแก้ไขเครื่องอ่านบาร์โค้ดได้ง่ายขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบภาพถ่ายยังสามารถเชื่อมต่อกับรูปแบบเครือข่ายต่างๆ ภายในของบริษัทได้ เช่น Ethernet/IP and Profinet หรือแม้แต่การเชื่อมต่อโดยตรงกับ ระบบ PLC (Programmable Logic Control) เป็นต้น การเชื่อมต่อเหล่านี้สามารถทำให้ผู้ใช้งานสังเกตและควบคุมการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค้ดได้อีกด้วย

Cognex008 
บาร์โค้ดคืออะไร
ระบบบาร์โค้ดหมายถึงการใช้สัญลักษณ์บาร์โค้ดบ่งชี้ไปยังข้อมูลตัวเลขหรือตัวอักษร และประยุกต์ต่อยอดโดยการนำตัวเลขหรือตัวอักษรเหล่านั้นบ่งชี้ไปยังสิ่งต่างๆ เช่น สินค้า (Product), วันหมดอายุ (Expiration date), รหัสเฉพาะสินค้า (Serial number), บุคคล (Person), URL Website เป็นต้น

BARCODE แท่งรหัส บาร์โค้ด ที่ใช้กันใหญ่ ทั้ง สินค้าอุปโภค สินค้าบริโภค อุตสาหกรรมขนาดเล็ก อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หน่วยงานรัฐบาล หน่วยงานเอกชน โรงพยาบาล ฯลฯ เป็นต้น ดังต่อไปนี้
บาร์โค้ดมีกี่ประเภท
1D Barcode (1 Dimension Barcode) : หมายถึงบาร์โค้ดหนึ่งมิติ ที่ใช้หลักการเข้ารหัสเลขฐานสอง (Binary codes) โดยความหนาของแท่งสีดำกับแท่งสีขาวในบาร์โค้ดจะเป็นตัวบ่งชี้ไปยังข้อมูลตัวเลขที่กำกับไว้ด้านล่างของบาร์โค้ด เทคโนโลยีเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่เหมาะสำหรับการอ่านบาร์โค้ดหนึ่งมิติได้แก่ Laser และ Linear ลักษณะของการนำบาร์โค้ดหนึ่งมิติไปประยุกต์ใช้คือการนำข้อมูลตัวเลขในบาร์โค้ดบ่งชี้ไปยังข้อมูลของสินค้าชนิดนั้นๆ เช่น บาร์โค้ดรหัส 000001 ใช้แทนสินค้า A , บาร์โค้ดรหัส 000002 ใช้แทนสินค้า B เป็นต้น

2D Barcode (2 Dimension Barcode) : หมายถึงบาร์โค้ดสองมิติ ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้พื้นฐานหลักการเดียวกันกับบาร์โค้ดหนึ่งมิติ บาร์โค้ดหนึ่งมิติมีลักษณะการแทนข้อมูลที่เป็นตัวเลขเท่านั้น แต่สำหรับบาร์โค้ดสองมิติจะสามารถบ่งชี้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรได้ นอกจากนั้นบาร์โค้ดสองมิติจะสามารถจุข้อมูลได้มากกว่าบาร์โค้ดหนึ่งมิติ รูปแบบของบาร์โค้ดสองมิติที่นิยมใช้โดยทั่วไปคือ QR-Code พัฒนาขึ้นโดยประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้ในการเก็บข้อมูลที่มีทั้งตัวเลขและตัวอักษรรวมกันเช่น URL Website , ID Line เป็นต้น และ Data Matrix พัฒนาโดยประเทศสหรัฐอเมริกานิยมใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ ที่ต้องการบาร์โค้ดขนาดเล็กและสามารถจุข้อมูลได้มาก เทคโนโลยีเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่เหมาะสำหรับการอ่านบาร์โค้ดสองมิติได้แก่ Array Imager ที่สามารถอ่านได้ทั้งบาร์โค้ดหนึ่งมิติและบาร์โค้ดสองมิติ



  
UPC-A (Universal Product Code) พบมากในธุรกิจค้าปลีกของประเทศสหรัฐอเมริกา และ แคนนาดา รหัสบาร์โค้ดที่ใช้เป็นแบบ 12 หลัก  หลักที่ 1 เป็นหลักที่ระบุประเภทสินค้า และตัวที่ 12 เป็นหลักที่แสดงตัวเลขที่ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด รหัสบาร์โค้ดแบบ UPC มีหน่วยงาน Uniform Council [UCC] ที่ตั้งอยู่รัฐ OHIO ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ดูแลในการจดทะเบียนบาร์โค้ด


Interleaved 2 of 5  เป็นรหัสบาร์โค้ดที่ใช้ในระบบรับ-ส่งสินค้า รหัสบาร์โค้ดแบบนี้เหมาะสำหรับพิมพ์ลงบนกระดาษลูกฟูก มักใช้ในโกดังจัดเก็บสินค้า และอุตสาหกรรมต่างๆ

 
โค้ด 128 (Code 128)  เนื่องจากโค้ด 39 เก็บข้อมูลที่เป็นตัวอักษรได้ค่อนข้างจำกัด ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาโค้ด 128 ขึ้นมาใช้งาน และเหมาะสมกับฉลากสินค้าที่มีพื้นที่จำกัด เพราะรหัสแท่งแบบโค้ด 128 นี้จะกะทัดรัดและดูแน่นกว่าโค้ด 39 โดยทั่วไปแล้วโค้ด 128 นิยมใช้ในอุตสาหกรรม การจัดส่งสินค้าซึ่งมีปัญหาด้านการพิมพ์ฉลาก

 
Data Matrix บาร์โค้ด 2 มิติแบบนี้ ถูกพัฒนาโดยบริษัท RVSI Acuity Cimatrix ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1989 สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO/IEC 16022 และ ANSI/AIM BC11-ISS-Data Matrix ลักษณะบาร์โค้ดมีทั้งรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้า สำหรับบาร์โค้ดรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสมีโมดูลข้อมูลระหว่าง 10 x 10 ถึง 144 x 144 โมดูล และรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามี 8 x 18 ถึง 16 x 48 โมดูล Data Matrix สามารถบรรจุข้อมูลได้มากที่สุด 3,116 ตัวเลข หรือ 2.355 ตัวอักษร แต่สำหรับข้อมูลประเภทอื่นได้แก่ข้อมูลเลขฐานสองบรรจุได้ 1,556 ไบต์ (1 ไบต์เท่ากับเลขฐานสอง 8 หลัก) และตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นบรรจุได้ 778 ตัวอักษร รูปแบบค้นหาของบาร์โค้ดแบบ Data Matrix อยู่ที่ตำแหน่งของด้านซ้ายและด้านล่างของบาร์โค้ด บาร์โค้ด Data Matrix ส่วนใหญ่ใช้ในงานที่มีพื้นที่จำกัดและต้องการบาร์โค้ดขนาดเล็ก

 
EAN-13  เป็นบาร์โค้ดแบบ EAN ที่เหมาะสมหรับผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก ใช้หลักการคล้ายกันกับบาร์โค้ดแบบ EAN-13 แต่จำนวนหลักน้อยกว่า คือ จะมีตัวเลข 2 หรือ 3 หลัก แทนรหัสประเทศ  4 หรือ 5 หลักเป็นข้อมูลสินค้า และอีก 1 หลักสำหรับตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด (Check Digit) แต่สามารถขยายจำนวนหลักออกไปได้อีก 2 หรือ 5 หลัก ในลักษณะของ Extension Barcode  (UPC-A+2 , UPC-A+5 ) ซึ่งเป็นคนละลักษณะกับการใช้บาร์โค้ดแบบ UPC-E ที่จะต้องพิมพ์ออกมาในรูปแบบเต็มเหมือน UPC-A แต่ทำการตัด 0 (ศูนย์) ออก ข้อมูลตัวเลขในสัญลักษณ์บาร์โค้ดแบบ EAN-8 จะบ่งชี้ถึงผู้ผลิตและผลิตภัณฑ์ และเมื่อมีการใช้ EAN-8 มากขึ้นในหลายประเทศ จำนวนของตัวเลขที่นำมาใช้ซึ่งมีจำนวนจำกัดทำให้ไม่เพียงพอกับผู้ใช้จึงหันมา ใช้บาร์โค้ดแบบ EAN-13 แทน
QR Code เก็บไว้เป็นข้อมูลตัวอักษรเราจึงสามารถนำ QR Code มาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เก็บข้อมูล URL ของเว็บไซต์, ข้อความ, เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลที่เป็นตัวอักษรได้อีกมากมาย ปัจจุบัน QR Code ถูกนำไปใช้ในหลายๆ ด้านเนื่องจากความ ง่ายเพราะทุกวันนี้คนส่วนใหญ่จะมีมือถือกันทุกคนและมือถือเดี๋ยวนี้ก็มีกล้อง เกือบทุกรุ่นแล้ว  ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดที่สุดของ QR Code ก็คือการเก็บ URL ของเว็บไซต์ เพราะ URL โดยปกติแล้วจะเป็นอะไรที่จดจำได้ยากเพราะยาวและบางอันจะซับซ้อนมาก ขนาดจดยังทำไม่ได้ แต่ด้วย QR Code เราเพียงแค่ยกมือถือมาสแกน QR Code ที่เราพบเห็นตามผลิตภัณต์ต่างๆ, นามบัตร, นิตยสาร ฯลฯ แล้วมือถือจะลิ้งค์เข้าเว็บเพจที่ QR Code นั้นๆ บันทึกข้อมูลอยู่โดยอัติโนมัติ และด้วยการมาของระบบ 3G ที่ค่ายมือถือต่างๆ ในบ้านเราเช่น True Move และ AIS เริ่มนำเข้ามาให้บริการแล้ว จะทำให้เราสามารถเข้าอินเตอร์เน็ตบนมือถือได้อย่างรวดเร็วและ นอกจากนี้ QR Code ยังเริ่มนิยมอยู่บนนามบัตรแล้วด้วย โดยจะใช้ QR Code บันทึก URL ของข้อมูลส่วนต่างๆ บนเว็บไซต์ เช่น อีเมล์, Hi5, MSN หรือจะเก็บข้อมูลส่วนในรูปแบบตัวอักษร เช่น ชือ ตำแหน่ง ที่อยู่ เบอร์โทร ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้ในอนาคตเราอาจไม่จำเป็นต้องแลกนามบัตรกันอีกต่อไป เพียงแค่เอามือถือมาสแกนที่นามบัตร ข้อมูลบนนามบัตรทุกๆ อย่างก็จะถูกจัดเก็บเข้ามือถือทันที


ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.barcode-produce.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539352178
http://www.abss.co.th/knowledge-view.php?knID=K0001
http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=2031
https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/scan.htm
http://ks-barcode.com/barcode-scanner



 



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใบงานที่3 เทคโนโลยีพาวเวอร์ซัพพลาย

ใบงานที่5 ประเภทของปริ้นเตอร์